วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า
          มีหลักในการจัดการดังนี้
          1. การอนุรักษ์พื้นที่ เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้สัตว์ป่ามีปริมาณลดลง คือ ถิ่นที่ อยู่อาศัย รวมทั้งแหล่งน้ำ แหล่งอาหารที่ถูกบุกรุกทำลายลง การถูกจำกัดในพื้นที่แคบๆ หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัย นับว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ปริมาณสัตว์ป่าลดจำนวนลง การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าทั้งทางตรง และทางอ้อมก็คือ การประกาศพื้นที่คุ้มครอง เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วนอุทยาน เป็นต้น
          2. จำกัดการล่า การลดจำนวนลงของสัตว์ป่า หรือสูญพันธ์ ปัจจัยหนึ่งมาจาก การล่าสัตว์ของมนุษย์ จึงต้องออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่าบางชนิดที่เหลือน้อย ห้ามล่าในพื้นที่บางแห่ง ห้ามล่าในบางฤดูที่ผสมพันธุ์ เป็นต้น
          3. การควบคุมสิ่งทำลาย เช่น การเข้าไปแย่งอาหาร ที่อยู่อาศัย หรือการนำสัตว์ ต่างถิ่นมาเลี้ยง อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์ป่าได้ ทั้งในเรื่องโรคระบาดและการล่ากัดกินสัตว์พื้นเมือง
          4. การเพิ่มปริมาณสัตว์ป่าให้มากขึ้น อาจทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเลี้ยงใน พื้นที่ธรรมชาติ การผสมเทียมซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นหลายแห่งวิธีอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า
                       สัตว์ ป่ามีคุณค่าต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือ สูญพันธุ์
            ไปด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า ดังนี้(ราตรี ภารา, 2540 ) 
                       1. การอนุรักษ์พื้นที่ สัตว์ป่าที่ลดจำนวนลงในปัจจุบัน เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารถูกทำลายลงอย่างมาก การจัดหาแหล่งที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย
            สำหรับสัตว์ป่า จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก วิธีการอนุรักษ์พื้นที่หรือถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าทำได้โดยประกาศเป็น พื้นที่อนุรักษ์ ดังต่อไปนี้
                          1.1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่า ปัจจุบันมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ 34 แห่ง 
            เนื้อที่ 17,251,575 ไร่ และกำลังจะประกาศเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง เนื้อที่ 1,425,087 ไร่
                          1.2 เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นสถานที่ที่ทางราชการได้กำหนดขึ้นเป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่า บางชนิด
                          1.3 อุทยานสัตว์ป่า เป็นสถานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในลักษณะซาฟารี ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ทางด้านการศึกษา การวิจัย และขยายพันธุ์สัตว์ป่า
            ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่ที่ปลอดภัยของสัตว์ป่าชั่วคราวก่อนนำไปปล่อยในที่ที่ เหมาะสมต่อไป 

                      2. การอนุรักษ์สัตว์ป่าทางวิชาการ การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการและอนุรักษ์ สัตว์ป่า ด้วยเพราะสัตว์ป่าเป็น สิ่งมีชีวิต 
            จึงจำเป็นต้องกินอาหาร ต้องการความแข็งแกร่งทางร่างกายเพื่อต่อสู้โรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สัตว์ป่า บางชนิดต้องการที่อยู่อาศัย 

                        เพื่อเป็นแหล่งผสมพันธุ์หรือเพาะพันธุ์รวมถึงการออกลูก อภิบาลตัวอ่อน การค้นคว้าทางวิชาการสามารถรู้ข้อมูลพฤติกรรม
             ของสัตว์ป่า แต่ละชนิด แล้วนำมาใช้ในการช่วยเหลือสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลงได้ การอนุรักษ์สัตว์ป่าทางวิชาการ  
             กระทำโดยสำรวจสัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้มีการปฏิบัติงานด้วยการจัดตั้งหน่วยงานโดยตรง ดังนี้
                           2.1 การตั้งสถานีวิจัยสัตว์ป่า
                           2.2 จัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า
                           2.3 การจัดตั้งศูนย์การศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า

                       3. การป้องกันและปราบปราม ทำได้โดย
                            3.1 การออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่า
                            3.2 ควบคุมการค้าสัตว์ป่า
                            3.3 การประชาสัมพันธ์ เป็นการส่งเสริมเผยแพร่ด้านความรู้เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่า 
                        เเผ่เเม่บทการอนุรักษ์สัตว์ป่า
สัตว์ป่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของระบบนิเวศของป่า สัตว์ป่าเป็นตัวช่วยเร่งให้เกิดการหมุนเวียนของพลังงานในระบบนิเวศของป่า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาระบบความสมดุลทางธรรมชาติและทำให้ระบบนิเวศมีความมั่นคง บางครั้งสัตว์ป่าจึงถูกใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรป่าไม้ ในทางกลับกันสถานภาพทรัพยากรป่าไม้ก็ส่งผลโดยตรงต่อกาคงอยู่ของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นด้วยเช่นกัน เพราะระบบนิเวศของป่าไม้และสัตว์ป่ามีการเกื้อกูลกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการจัดการควบคู่กันไป
    
     การลดลงของพื้นที่ป่าในประเทศไทยเริ่มขึ้นในทันทีเมื่อมีการเปิดประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประชาคมโลก เงินตราที่ใช้ในการพัฒนาประเทศไปสู่ความนำสมัยในช่วงลายปี พ.ศ. ที่ 2440 เป็นเงินภาษีที่รัฐได้จากการเปิดสัมปทานทำไม้ ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยปราศจากการควบคุม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลจึงต้องออกกฎหมายเพื่อควบคุมกิจกรรมการทำไม้ดังกล่าว ต่อมาแหล่งเงินตราที่ใช้ในการพัฒนาประเทศเปลี่ยนจากไม้ไปเป็นการส่งสินค้าทางการเกษตรที่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ หลังจากที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ. 2504 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรของไทยอย่างรวดเร็ว จากวิธีทำการเกษตรเพื่อจำหน่ายภายในประเทศถูกขยายเป็นการทำการเกษตรเพื่อการส่งออก ยังผลให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งทำให้ในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมาพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว จากที่เคยมีพื้นที่ป่าของประเทศประมาณ 171 ล้านไร่ หรือร้อยละ 53.33 ของพื้นที่ประเทศ ในปี พ.ศ. 2504 ลดลงเหลือเพียง 107 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 33.40 ของพื้นที่ประเทศ ในปี 2543 นอกจากนั้นในพื้นที่ 107 ล้านไร่ที่เหลืออยู่ ยังมีสภาพเป็นกลุ่มป่าขนาดต่างๆ กัน ตั้งแต่หลายสิบไร่จนถึงหลายล้านไร่ ทำให้ไม่ติดต่อกัน ทำให้มีผลต่อการลดลงของจำนวนประชากรสัตว์ป่าในระยะยาว การลดลงอย่างรวดเร็วของพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ย่อมมีผลกระทบอย่างรุนแรงและเป็นเหตุให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน จนทำให้สัตว์ป่าบางชนิดต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและบางชนิดที่ปริมาณลดลงจนใกล้สูญพันธุ์

     สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่อำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยสัตว์ป่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของชุมชนโดยเฉพาะชุมชนรอบป่า สัตว์ป่าจึงกลายเป็นทั้งแหล่งอาหารและเศรษฐกิจที่สำคัญของพื้นที่บริเวณแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า นอกจากนี้เมื่อการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทันสมัยขึ้น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์ป่าจึงมีมากขึ้นทั้งปริมาณและรูปแบบการใช้ประโยชน์จากเดิมที่เราใช้สัตว์ป่าเป็นเพียงอาหาร ใช้แรงงาน และใช้เป็นพาหนะ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือขายจนเป็นอาชีพที่ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังเช่นคำจารึกที่พบในหลักศิลาจารึกว่า “ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า” แสดงนัยว่า รัฐให้อิสระแก่ราษฎรในการค้าขายสัตว์ป่าต่อมาจำนวนสัตว์ป่าอาจถูกล่าจนมีจำนวนลดลง ในสมัยกรุงศรีอยุธยารัฐจึงต้องออกมาตรการควบคุมการล่าสัตว์ป่าบางชนิดโดยเฉพาะช้างป่า ซึ่งจัดว่าเป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองเป็นชนิดแรกในประเทศไทย

     การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทยนั้นได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 หลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยได้มีการกันพื้นที่ไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ทั้งในรูปแบบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้วประมาณ 25 ล้านไร่ นอกจากนี้ได้มีการกำหนดพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เป็นการช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับการประกาศนี้ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า โดยมีพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแล้วประมาณ 43 ล้านไร่ ในปัจจุบันแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองใช้หลักการจัดการเชิงพื้นที่ หรือการจัดการเชิงระบบนิเวศ(Ecosystem Management) ซึ่งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

     นอกจากประเทศไทยจะได้มีการอนุรักษ์พื้นที่ไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และมีมาตรการควบคุมการล่าสัตว์ป่าแล้ว ยังได้ให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ด้วยการเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์(Convention on International Trade in Endanger Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ที่เป็นความร่วมมือของสมาชิกในการที่จะร่วมกันควบคุมและป้องกันการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพและอนุสัญญา RAMSAR ว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในการอนุรักษ์ชนิดและชนิดถิ่นที่อยู่อาศัยและสัตว์ป่าเหล่านั้น

     ถึงแม้จะมีมาตรการประกาศพื้นที่ไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และมีมาตรการในการควบคุมการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าแล้ว แต่เมื่อสถานการณ์ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีปัจจัยภายนอกเข้ามามีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ป่าเสมอ เพื่อให้การอนุรักษ์มีประสิทธิ์ภาพ ต่อเนื่อง และเป็นที่รับทราบของบุคคลที่เกี่ยวของทุกสาขา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าขึ้น ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยได้มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยภายในและภายนอก (SWOT Analysis) ตลอดจนได้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2547 และนำผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะดังกล่าวมาเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติขึ้น เพื่อให้สัตว์ป่าสามารถดำรงเผ่าพันธุ์และอำนวยประโยชน์ต่อประชาชนในชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น